โรคติดเกม : ภัยเงียบที่กำลังคุกคาม

      ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีครองโลก เกมคอมพิวเตอร์และเกมมือถือกลายเป็นแหล่งความบันเทิงยอดนิยมสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สนุกกับเกมได้อย่างปลอดภัย เพราะหากเล่นมากเกินไป เสพติดเกมจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  “โรคติดเกม” ก็อาจกำลังคืบคลานเข้ามาหาคุณได้

ทำความรู้จักโรคติดเกม

        โรคติดเกม (Gaming Disorder) จัดเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่น คือ ผู้ป่วยจะหมกมุ่นกับการเล่นเกมมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง เช่น การเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคติดเกม เป็น 1 ใน 11 โรคใหม่ ภายใต้ International Classification of Diseases ฉบับที่ 11 (ICD-11) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคติดเกม ตามหลักเกณฑ์ ICD-11 

สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเบื้องต้น สามารถเช็คลิสจากพฤติกรรมได้ดังนี้

  1. เสพติดเกมมากจนไม่สามารถควบคุมการเล่นได้
  2. เล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้รู้สึกพึงพอใจ
  3. รู้สึกกระสับกระส่าย หงุดหงิด หรือโมโห เมื่อพยายามลดหรือหยุดเล่นเกม
  4. หมกมุ่นกับการเล่นเกมเป็นอย่างมาก จนละเลยงานอดิเรก ความสัมพันธ์ และหน้าที่ต่างๆ
  5. แม้รู้ว่าการเล่นเกมส่งผลเสีย แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดเล่นได้

สัญญาณอันตรายของโรคติดเกม พฤติกรรมที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเข้าข่ายโรคติดเกม มีดังนี้

  • เล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่สนใจเวลานอน
  • เล่นเกมจนละเลยการเรียน การทำงาน และหน้าที่
  • เกิดปัญหาการเงินจากการเติมเงินในเกม
  • เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่น เนื่องจากการเล่นเกม
  • มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดนิ้ว ปวดหลัง ตาพร่า

ผลกระทบของโรคติดเกม  โรคติดเกม ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในหลายด้าน ได้แก่

  • ด้านการเรียน : ผลการเรียนตกต่ำ ขาดเรียนบ่อย หนีเรียนเพื่อไปเล่นเกม
  • ด้านการทำงาน : ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ขาดงานบ่อย ลาออกจากงาน
  • ด้านความสัมพันธ์ : มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับคนรอบข้าง สูญเสียความสัมพันธ์
  • ด้านสุขภาพกาย : นอนไม่พอ โรคอ้วน สายตาเสื่อม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ด้านสุขภาพจิต : เกิดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ

แนวทางการรักษาโรคติดเกม 

         การรักษาโรคติดเกม จำเป็นต้องอาศัยการบำบัดทางจิตวิทยา การบำบัดโดยครอบครัว และการให้ยาในบางกรณี ผู้ป่วยและครอบครัวควรร่วมมือกันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ 

แนวทางป้องกันโรคติดเกม

  • จำกัดเวลาการเล่นเกม 
  • ควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ลองหากิจกรรมอื่นที่น่าสนใจทำ หรือหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับครอบครัว
  • หันมาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ทำงานอดิเรก  เสริมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 
  • พูดคุยกับครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อแบ่งเบาความเครียด และสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี
  • หากรู้สึกว่าตัวเองติดเกมจนควบคุมไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยา

       โรคติดเกม เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างรุนแรง การป้องกันตัวเองและคนรอบข้างจากโรคนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ร่วมกันสังเกตอาการและส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสุขภาพกายและใจ

Ranchu มีทีมนักจิตวิทยาที่มีทักษะเฉพาะทางการให้คำปรึกษา ตรวจประเมินอาการเบื้องต้น และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด 

สอบถามเพิ่มเติมหรือจองคิวปรึกษา ติดต่อเรา

CHANGE LANGUAGE
Powered by
RanchuCenter.com
Ranchu Center พื้นที่แห่งการดูแลสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่าย และ ความปลอดภัยสำหรับทุกคน

RanchuCenter.com

Ranchu Center พื้นที่แห่งการดูแลสุขภาพจิตที่เข้าถึงได้ง่าย และ ความปลอดภัยสำหรับทุกคน

แชร์หน้านี้
โหลดหน้าใหม่
คัดลอกลิงก์