เคยมีเพื่อนหรือคนรู้จัก ที่มักมีอาการตื่นตัว ตกใจกลัว เมื่อพบเจอเหตุการณ์บางอย่างกันบ้างมั้ยคะ เช่น ข้ามถนนไม่ได้ ขึ้นเรือไม่ได้ เป็นต้น อาการเหล่านี้ไม่ใช่การแกล้งทำ หรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นสภาวะของจิตใจที่เคยได้รับการกระทบกระเทือน หรือทางจิตเวชเรียกว่า โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)
PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder คือ เป็นสภาวะของการป่วยทางด้านจิตใจ ที่เกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น อุบัติเหตุ ภัยสงคราม การถูกทำร้ายร่างกายหรือล่วงละเมิดทางเพศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จมน้ำ เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ จนเห็นภาพหลอน ฝันร้าย นอนไม่หลับ หวาดระแวง ตกใจง่าย ซึมเศร้า รู้สึกชาทางอารมณ์ รวมถึงมีอาการทางร่างกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก ตัวสั่น เป็นตัน ผู้ป่วยจะมีกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่เคยประสบนั้น
PTSD นั้นส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย จึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และนำไปสู่โรคภาวะทางจิตอื่นๆ หรือมีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น โรคซึมเศร้า การหันมาพึ่งยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์ได้
อาการของโรค
อาการของโรค สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่
- อาการรุกราน เป็นสถาวะที่มักจะนึกถึงเหตุการณ์เลวร้ายซ้ำ ๆ ฝันร้าย รู้สึกเหมือนว่าเหตุการณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นจริง ตกใจง่าย หงุดหงิดง่าย
- อาการหลีกเลี่ยง ผู้ป่วยมักพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เหตุการณ์เลวร้าย เช่น สถานที่ บุคคล หรือเสียง ต่างๆ หรือพยายามไม่พูดถึงเหตุการณ์นั้นอีก
- อาการด้านลบ ผู้ป่วยรู้สึกชาทางอารมณ์ รู้สึกแยกตัวจากผู้อื่น รู้สึกไร้หวัง หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
- อาการทางร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เหงื่อออก ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก ปวดหัว นอนไม่หลับ
ปัจจัยเสี่ยงของโรค
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้
– เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรค PTSD มากกว่าผู้ชาย
– ประสบการณ์ในวัยเด็ก ผู้ที่เคยถูกทารุณกรรมหรือถูกละเลยในวัยเด็ก มีความเสี่ยงเป็นโรค PTSD มากกว่า
– ประวัติครอบครัว หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรค PTSD บุคคลนั้นก็มีความเสี่ยงสูง
– พันธุกรรม มีความเป็นไปได้ว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรค PTSD
– บุคลิกภาพ บุคลิกภาพบางอย่าง เช่น บุคลิกภาพแบบวิตกกังวล มีความเสี่ยงเป็นโรค PTSD มากกว่า
การวินิจฉัยโรค PTSD แพทย์หรือผู้มีเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะวินิจฉัยโรค PTSD โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินอาการทางจิตใจของผู้ป่วย
การป้องกัน
การป้องกันโรค PTSD ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือสิ่งกระตุ้นของโรค และการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง หากประสบกับเหตุการณ์สะเทือนใจรุนแรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อขอรับคำแนะนำและการรักษา ซึ่งโรค PTSD เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกวิธี ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้น หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการของโรค PTSD ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อขอรับการรักษา
การรักษา
การรักษาโรค PTSD มี 2 วิธีหลัก ได้แก่
- การบำบัดทางด้านจิตใจ มีหลายรูปแบบ เช่น การบำบัดด้วยการเผชิญหน้า (Exposure therapy) การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy: CBT) และการบำบัดด้วย EMDR (Eye Movement Desensitization and Reprocessing)
- การใช้ยา แพทย์อาจสั่งยาต้านเศร้า ยาลดความวิตกกังวล หรือยานอนหลับ เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรค
อาการ PTSD สามารถลบได้ ลืมได้ และรักษาให้หายได้ หากเราทำความเข้าใจ และมีวิธีรับมือได้อย่างถูกต้อง ที่ Ranchu Center พร้อมรับฟัง และให้คำปรึกษา แก่ผู้ที่มีอาการ PTSD เพื่อให้สามารถก้าวผ่านอาการดังกล่าว และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข