ความเครียดสะสม (Chronic Stress) เป็นภาวะที่ร่างกายและจิตใจต้องเผชิญกับความเครียดเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ภาระหนี้สิน ปัญหาครอบครัว หรือความกังวลในชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้ไม่รีบจัดการ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่รุนแรงได้
สัญญาณเตือนของความเครียดสะสม
ทางกาย ปวดหัวเรื้อรัง, นอนไม่หลับ, อ่อนเพลีย, ภูมิคุ้มกันต่ำลง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย, วิตกกังวล, ไม่มีสมาธิ, ซึมเศร้า, หมดไฟ
ทางพฤติกรรม สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, ใช้สารเสพติด, ก้าวร้าว, เก็บตัว
ผลกระทบจากความเครียดสะสมต่อสุขภาพ
- โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, หัวใจวาย
- โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร, กรดไหลย้อน, ลำไส้แปรปรวน
- โรคเบาหวาน
- โรคซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล
- ปัญหาทางเพศ
- ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
วิธีจัดการกับความเครียดสะสม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายหลั่งสาร Endorphin ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
- ฝึกการหายใจและการผ่อนคลาย: เช่น โยคะ, ไทชิ, การทำสมาธิ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: ควรนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง, ไขมันสูง, แอลกอฮอล์, คาเฟอีน
- จัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความกดดันและความเร่งรีบ
- หากิจกรรมที่ชอบทำ:เช่น อ่านหนังสือ, ฟังเพลง, ดูหนัง, ท่องเที่ยว
- พูดคุยกับคนใกล้ชิดหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อระบายความเครียดและรับฟังคำแนะนำ
อย่าปล่อยให้ความเครียดสะสมกัดกินชีวิตของคุณ หากรู้สึกว่าจัดการกับความเครียดเองไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
Ranchu บริการด้านสุขภาพจิต บริการที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต รับจัดเวิร์คช็อปให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตเชิงลึก บริการสุขภาพจิตสำหรับองค์กร